ปัญหาการฆ่าตาย ผ่อนคลาย และป้องกันได้ การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งปรากฎอยู่ในสังคมและชุมชนต่างๆอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถป้องกันได้ หากว่าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ช่วยเหลือ โดยประชาชนมีเจตคติที่ดี มีความเห็นอกเห็นใจ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของการฆ่าตัวตาย วิธีการสังเกตสัญญาณเตือนที่จะนำไปสู่การฆ่าตัวตายเสียแต่เนิ่นๆ และรู้แหล่งหรือบุคคลที่จะให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ที่จำเป็น ย่อมจะทำให้ปัญหาการฆ่าตัวตาย และพยายามฆ่าตัวตายของคนในชุมชนต่างๆ ลดลงไปมาก และนำความสงบสุขมาสู่ชุมชนนั้น คุณรู้ไหมว่าทำไม คนเราถึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย
- มองไปทางไหนก็เห็นแต่ปัญหา ไม่เห็นทางออก เจอแต่ทางตัน
- ซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก หดหู่ ท้อแท้
- ป่วยเป็นโรคจิต หลงผิดคิดว่ามีคนสั่งให้ไปตาย หรือระแวงว่าจะมีคนมาฆ่า ก็เลยอยากตายไปให้พ้น
- ติดเหล้า ติดยา ไม่ได้เสพก็ทรมาน พอเสพจนเมาก็ขาดสติ ไม่มีใครอยากเหลียวแล
- มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยทางกาย จนไม่สามารถทนได้ จึงฆ่าตัวตายเพื่อให้พ้นทุกข์
|
คนที่ฆ่าตัวตายต้องการสิ่งเหล่านี้
- ความเข้าใจ
- เพื่อนที่จริงใจ
- การระบายความทุกข์
- ความใส่ใจ
|
ลักษณะบุคคลที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หากพบว่าใครมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อต่อไปนี้ ให้ระวังว่าอาจจะมีความเสียงต่อการฆ่าตัวตาย
|
- พูดถึงความตายหรือการฆ่าตัวตาย หรือบ่นว่าอยากตาย ไม่อยากเป็นภาระใคร รู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า ไม่รู้จะอยู่เพื่อใคร
- พูดหรือเขียนสั่งเสีย
- เคยพยายามฆ่าตัวตาย
- นิสัยเปลี่ยนเป็นหงอยเหงา เศร้าซึม แยกตัวเอง หมดอาลัยตายอยาก ร้องไห้บ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ มีความรู้สึกผิด และดูถูกตนเอง
- ป่วยเป็นโรคจิต เช่น มีอาการหูแว่วว่ามีคนมาสั่งให้ไปตาย หลงผิดคิดว่าจะมีคนมาฆ่าจึงอยากตายให้พ้นๆ มีความคิดแปลกๆ ว่าถ้าตายแล้วจะช่วยไม่ให้โลกแตก เป็นต้น
- ติดสุราหรือยาเสพติด จนเลิกไม่ได้ ครอบครัวและชุมชนไม่ยอมรับ
- มีความทุกข์ทรมานจากโรคประจำตัวร้ายแรง โรคเรื้อรัง และรักษาไม่หาย เช่น โรคเอดส์ มะเร็ง เป็นต้น
- มีความพิการจากการสูญเสียอวัยวะสำคัญ จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเสียความสวยงาม
- สูญเสียบุคคลหรือของรักที่มีความสำคัญต่อชีวิต การตายจาก หรือแยกจากในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
- ถูกเร่งรัดหนี้สินจนหาทางออกไม่ได้ สินเนื้อประดาตัว หมดทางทำมาหากิน
- เกิดการโต้เถียง ทะเลาะวิวาทรุนแรงบ่อยๆ ระหว่างคนในครอบครัว หรือเพื่อนฝูง
ถ้ามีลักษณะดังข้อ 1-6 แนะนำหรือชักชวนให้ขอคำปรึกษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลชุมชนโดยด่วน เพราะมีความเจ็บป่วยทางจิตใจซึ่งรักษาได้ โรคบางอย่างจำเป็นต้องรักษาด้วยยา ถ้าพบข้อใดข้อหนึ่ง ให้ดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะข้อ 1-6 เพียงข้อใดข้อหนึ่ง รีบให้ความช่วยเหลือโยเร่งด่วน โดยขอให้ดำเนินการช่วยเหลือตามวิธีที่ได้แนะนำไว้ในหน้านี้
เราจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าตัวตายได้อย่างไร
|
- สังเกตว่ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง 11 ข้อ หรือไม่ ถ้ามีให้เฝ้าระวังว่ามีโอกาสกระทำได้จริง ควรเข้าไปพูดคุยซักถามด้วนความเอาใจใส่ พร้อจะช่วยเหลือ
- ลองถามไถ่ว่ามีการเตรียมวิธีที่จะทำร้ายตัวเองหรือไม่อย่างไร ถ้าผู้ช่วยเหลืออยู่ในฐานะเพื่อนบ้านหรือมิใช่คนในครอบครัว ให้บอกญาติหรือคนในครอบครัวให้คอยระวังอย่างใกล้ชิด ให้อยู่ในสายตาและให้อยู่ห่างจากอุปกรณ์ ที่เขาเตรียมไว้เพื่อทำร้ายตัวเอง
- พูดคุยให้คำปรึกษา ปลอบใจ ให้เขามีสติ ค่อยๆคิดหาทางแก้ไขปัญหา อาจจะแนะนำให้เขาปรึกษาคนที่เขาไว้วางใจ และนับถือ เช่น ญาติ พระ ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
- กระตุ้นให้ญาติให้กำลังใจ ไม่ตำหนิ หรือลดการทะเลาะเบาะแว้งลง
- ติดต่อหาแหล่งช่วยเหลือในพื้นที่ เท่าที่จะทำได้ เช่น แหล่งฝึกอาชีพ แหล่งฟื้นฟูสมรรถภาพ แหล่งช่วยเหลือเรื่องการเงิน เช่น กรมประชาสงเคราะห์ เป็นต้น
- กระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนักถึงปัญหา และให้ความสนใจดูแล และเฝ้าระวังซึ่งกันและกัน ไม่ปล่อยปละละเลย
- ให้ความรู้เรื่องผลระยะยาวของสุขภาพที่เกิดจากการใช้ยา หรืออุปกรณ์ในการฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ เช่น สมองเสื่อมจากการผูกคอตาย หรือเกิดความพิการทางกายอื่นๆ
เทคนิคการปลอบใจเมื่อใครมีแนวโน้มที่จะคิดทำร้ายตนเอง ควรพูดปลอบใจ และให้กำลังใจด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล เป็นมิตร ดังนี้
|
- พูดให้ความหวัง ตัวอย่างเช่น " ทำใจดีๆไว้ พรุ่งนี้อาจะดีขึ้นก็ได้ เพราะไม่มีอะไรที่คงที่ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ความทุกข์ก็เหมือนกัน มันจะหมดไปสักวัน และพ้นผ่านไปเองในที่สุด "
- ยังมีหนทางแก้ไขปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น " ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข บางปัญหาต้องใช้เวลา เราลองมาช่วยกันคิดหาหนทางที่จะแก้ไขปัญหากันดีกว่า "
- ให้ความมั่นใจว่า ยังมีคนคอยช่วยเหลืออยู่ ตัวอย่างเช่น " ลองปรึกษาหารือกับเพื่อน (หรือญาติพี่น้อง สามี หรือภรรยา ลูกที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว) ดู " แต่ถ้าไม่มีใครจริงๆ ยังมีหน่วยงานอีกหลายแห่งที่ยังคอยให้ความช่วยเหลืออยู่
- พูดให้ห่วงคนข้างหลัง ตัวอย่างเช่น " ถ้าขาดคุณเสียคน ลูกๆจะทำอย่างไร " หรือ "ถ้าขาดคุณแล้ว พ่อแม่จะอยู่อย่างไร ใครจะช่วยดูแลท่าน ท่านแก่มากแล้ว "
- พูดให้เห็นข้อดีของการมีชีวิต ตัวอย่างเช่น " คุณยังมีอะไรดีๆอยู่อีกมาก เช่น มีลุก มีสามี หรือภรรยาที่ดี ที่คอยหว่งใยให้กำลังใจ " หรือ " คุณยังมีงานทำมีทรัพย์สินเงินทอง " หรือ " การมีชีวิตอยู่ยังได้ทำบุญ ทำประโยชน์ให้ครอบครัวให้สังคมได้ "
- ในกรณีที่เวลาผ่านไประบะหนึ่ง ผู้คิดทำร้ายตนเอง สามารถมีสติรับฟังเหตุผลได้ ให้พูดถึงบาปบุญคุณโทษ ตัวอย่างเช่น " คิดทำร้ายตัวเองไม่ดีหรอกบาปกรรมเปล่าๆ กว่าจะเกิดมาเป็นคนนั้นแสนยาก "
|
|
อย่าพูดซ้ำเติมคนคิดฆ่าตัวตาย เพราะจะกายเป็นการผลักดันให้ลงมือทำซ้ำอีก การปลอบใจและให้กำลังใจที่ดีที่สุด คือการรับฟังอย่างเข้าใจ และใส่ใจความรู้สึกของผู้ประสบปัญหา และเห็นอกเห็นใจด้วยความจริงใจ
|
|
เมื่อมีการฆ่าตัวตายจะทำอย่างไร |
- รีบช่วยปฐมพยาบาล และรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
- ปลอบโยนญาติให้มีสติ
- ทำความเข้าใจกับชุมชนให้เข้าใจว่า เขาทำไปเพราะทุกข์ใจ ไม่ใช่เป็นการกาเรื่องใส่ตัว ไม่ควรรังเกียจ ควรเห็นใจผู้ฆ่าตัวตาย และญาติ ให้ความช่วยเหลือ และช่วยกัยดูแลเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก
สิ่งที่ญาติหรือผู้ใกล้ชิด ไม่ควรพูดกับผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย |
- ตายเสียได้ก็ดี
- ไม่น่ารอดมาเลย
- อย่าไปสนใจมากเดี๋ยวก็ทำอีก ไม่ตายจริงหรอก
- เก่งจริงคราวหน้าก็ให้ตายจริงซิ
- อยู่ไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์อะไร
- ไม่ต้องฆ่าตัวตายหรอก ยังไงก็ตายอยู่ดี
- อยู่ไปนานก็ยิ่งจะสร้างภาระให้คนอื่น
|
| แหล่งให้ความช่วยเหลือที่ติดต่อได้
- สถานีอนามัย
- โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจิตเวช
- บุคคลในชุมชนที่เคารพนับถือ ไว้วางใจ และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ เช่น พระครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และเพื่อนบ้าน
- แรงงานจังหวัด ที่ให้ความช่วยเหลือด้านจัดหางาน เพื่อให้มีอาชีพ เลี้ยงตัวเองและครอบครัว
- ประชาสงเคราะห์จังหวัด ที่ให้ความช่วยเหลือเรื่องการเงิน ที่พักอาศัย และปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น