วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สารเคมีในสมอง


  1. กลุ่มกระตุ้นสมอง ได้แก่ Serotonin Endorphine Acetylcholine Dopamine ฯลฯ
  2. กลุ่มกดการทำงานของสมอง เช่น Adrenaline cortisol
กลุ่มแรกจะทำหน้าที่
  • ควบคุมความประพฤติ การแสดงออก อารมณ์
  • ทำให้สมองตื่นตัว และมีความสุข
  • ทำให้การอ่านข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
  • ทำให้ร่างกายรู้สึกดี มีความสุข
  • ทำให้เพิ่มภูมิต้านทาน สุขภาพแข็งแรง
จะหลั่งมากเมื่อ
  1. การออกกำลังกาย
  2. การได้รับคำชมเชย
  3. การร้องเพลง
  4. การเล่นเป็นกลุ่ม
  5. สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนที่ดี
  6. การให้ทำกิจกรรมกลุ่ม
  7. การได้รับสัมผัสที่อบอุ่น (affirmation touch)
  8. การมองเห็นคุณค่าของตนเอง
  9. การเล่นดนตรี และเรียนศิลปะโดยไม่ถูกบังคับ
  10. การได้รับสิ่งที่ชอบ
  11. ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ยกตัวอย่างกลุ่มแรก
  • Dopamine : ควบคุมการเคลื่อนไหว ถ้าต่ำมีผลต่อความจำที่ใช้กับการทำงาน ถ้าสูงมากเกินไป เกิดโรคจิตประสาทหลอน และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ชายจะลดลงมากกว่าผู้หญิง
  • Serotonin : ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ทำหน้าที่ส่งข้อมูล เกือบทุกข่าวสารผ่านที่ต่างๆ ในสมอง ถ้าขาดจะทำให้คนซึมเศร้า มองคุณค่าตัวเองต่ำ
  • Acetylcholine : ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทำให้ข้อมูลส่งผ่านได้ดีขึ้น มีบทบาทสำคัญในความจำระยะยาว ช่วยให้สมองเก็บความรู้ที่เราเรียนในเวลากลางวันไปเก็บในสมองในเวลาที่เรากำลังหลับ เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความฝัน ถ้าขาดสารนี้ทำให้สมาธิลดลง ขี้ลืม นอนไม่ค่อยหลับ
  • Endorphine (Endogenous morphine) : เป็นยาชาในร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้รู้สึกเจ็บน้อยลง เช่น ผู้หญิงขณะคลอดจะผลิตสารนี้ 10 เท่า เป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดความสุข อารมณ์ดี และสมองจะเจริญเติบโต และเรียนรู้ได้ดี ถ้าขาดสารนี้จะทำให้เราขาดความสุข แม้จะฟังเพลงที่เคยชอบ ถ้ามีสารนี้มากจะมีอารมณ์ดีเป็นพิเศษ และสนุกสนาน
การออกกำลังกายและทำกิจกรรมอื่นๆ หรือการวิ่ง จะทำให้สารนี้หลั่ง หรือการให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้สารเคมีนี้หลั่งเช่นกัน สังเกตได้ว่า ถ้าเราออกกำลังกายหรือได้ช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้รู้สึกดี สมองปลอดโปร่อง มีความสุข แต่ไม่ใช่ออกกำลังกายที่ถูกบังคับ หรือเคี่ยวเข็ญ ซึ่งจะเกิดความทุกข์แทน

การหลั่งของ Serotonin Dopamine Endorphine ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ และจำได้ดีขึ้น และสมองจะเจริญเติบโตดี เกิดจากการออกกำลังกาย การสัมผัสที่อบอุ่นการยิ้มแย้มแจ่มใส และการมีความสัมพันธ์ที่ดี การมองตนในแง่ดี การชมเชย การภูมิใจตนเองทำให้ร่างกายรู้สึกดี และมีภูมิต้านทานสูงขึ้น เพราะฉะนั้น ครู และพ่อแม่ อาจจะต้องหาช่องทางที่จะชมเชยเด็กอยู่เสมอ และให้มีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวในขณะที่เรียนบ้าง ไม่ดุเด็กมากมายจนขาดเหตุผล แต่พยายามกระตุ้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน จะทำให้เด็กมีความสุข สามารถเรียนรู้ และจำได้ดีขึ้น เด็กอยาก จะเรียนวิชานั้นมากขึ้น คุณครูทดลองทำดูได้ค่ะ



เราสามารถสร้างภาวะเหล่านี้ในห้องเรียน เช่น ยืนขึ้น ยืดเส้นยืดสาย การเล่นกล เล่นตลก กายบริหารสักเล็กน้อย บิดตัวไปมา ทั้งหลายเหล่านี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย เพิ่มการเต้นของหัวใจและการหายใจ หรืออาจจะใช้ลูบหัว จับมือ โอบไหล่ (ครูเพศตรงข้ามห้ามทำ) ตบหลังเบาๆ ให้กำลังใจ การจับกลุ่มกันทำงาน ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีส่วนร่วม การดูแลจากครูดี รู้สึกมั่นคงทำให้หลั่งสาร Endorphine (Jensen 1998) รวมทั้งการร้องเพลง ดนตรี โดยเฉพาะกลุ่มดนตรีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ ที่อิสระไม่ไดถูกบังคับ ก็จะทำให้สารเคมีที่ดีเหล่านี้หลั่ง ซึ่งจะมีผลทำให้สมองปลอดโปร่ง มีความสุข สุขภาพดี และความจำดี

กลุ่มที่ 2 เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเครียด จะหลั่งเมื่อสมองได้รับความกดดัน ความเครียดอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้
  • ยับยั้งการส่งข้อมูลของแต่ละเซลล์สมอง
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของสมองและใยประสาท
  • คิดอะไรไม่ออก ยับยั้งเส้นทางความจำทุกๆ ส่วน
  • ภูมิต้านทานต่ำ เป็นภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย
  • ทำลายเซลล์สมอง และใยประสาท (Khalsa 1997)
Cortisol สูงทำให้
  • เด็ก Hyperactive
  • กังวล
  • สมาธิสั้น ควบคุมไม่ได้
  • ความสามารถในการเรียนลดลง
Cortisol คล้าย Adrenaline ถ้ามีมากจะมีพิษต่อสมอง เป็นสารที่เกี่ยวกับการตกใจและการต่อสู้ การตอบสนองต่อความเครียด ถ้ามีมากเกินไปจะมีอันตราย ต่อทั้งอารมณ์และร่างกาย สารนี้จะหลั่งเมื่อมีความรู้สึกไม่ดี ความเครียด (เรื้อรัง) มีความทุกข์ การมองเห็นคุณค่าตัวเองต่ำ โดนดุด่าทุกวัน ซึมเศร้า โกรธ เข้มงวดเกินไป วิตกกังวล ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายองค์ประกอบภายในสมอง ไม่ว่าใยประสาทต่างๆ หรือแม้แต่เซลล์สมอง รวมทั้งจะหยุดยั้งการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมอง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่คุณครู หรือ พ่อ แม่ ผู้ใกล้ชิดต้องระวัง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ในขณะสอน หรืออยู่กับเด็ก

ภาวะ Cortisol สูงจะทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เช่น เป็นโรคกระเพาะ ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เป็นโรคภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย ซึ่งเคยมีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น ครูที่ดุ หรือเคร่งครัดมากๆ หรือคนที่ทำงานเครียดมากๆ นานๆ เกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคหัวใจ ฯลฯ ท่านลองสังเกตบุคคลรอบๆ ตัวดูได้ค่ะ.


ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library/chemicals_in_the_brain/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น