วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สมุนไพร

สมุนไพร(Medical Plant หรือ Herb) หมายถึงสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพ อันหมายถึงการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค

"สมุนไพร" นับว่าเป็นยาที่ สำหรับรักษาโรคต่างๆ ได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง"พืชสมุนไพร" ทั้งหลาย " พืชสมุนไพร " ที่นำเอามาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคของคนเรานั้น ได้รับการ อนุญาตให้ใช้รักษาความเจ็บไข้ได้ป่วย ของมนุษย์เราได้ โดยมีพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2522 ดังนี้

" สมุนไพร " หมายถึงยา ที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือทำการแปรสภาพเป็นต้นว่า ส่วนของรากหัว เปลือก ใบ ดอก เมล็ด ผล

"สมุนไพร" สมุนไพรที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนังกระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มีเช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ สมุนไพรที่เป็นแร่ธาตุเช่น เกลือ เกลือสินเธาว์ เป็นต้น

"พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมาย ซึ่งเชื่อกันอีกด้วยว่าต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

"พืชสมุนไพร" อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผง เป็นต้น

"พืชสมุนไพร" มีวัตถุธาตุ หรือตัวยาสมุนไพร แบ่งออกเป็น 5 ประการ

  1. รูป ให้รู้ว่าพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมีชื่ออะไรบ้าง ชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญ
  2. สี ให้รู้จักสีของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ว่าเป็นสีดำ ขาว น้ำตาล หรือสีอื่นๆ
  3. กลิ่น ให้รู้ว่ามีกลิ่นหอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
  4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสเปรี้ยว รสเย็น
  5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร,ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร ดอกมะขามเป็นอย่างไร ผลมะเกลือเป็นอย่างไร
สมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐานส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร โดยนำองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนของพืชมาใช้ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ส่วนของพืชเหล่านี้มีรูปร่างลักษณะและโครงสร้าง และบทบาทต่อพืชที่แตกต่างกัน
สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย


ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library/health.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น