วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นี่แหละตัวผม




ชื่อ ด.ช. ชิตพล มูลเมือง 

ชื่อเล่น ปาย อายุ 14 ปี 

เกิดวันที่ 26 เดือน ตุลาคม 2541

งานอดิเรก
- ฟังเพลง
- เล่นเกม
- อ่านหนังสือการ์ตูน


คติประจำใจ
- ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น

สามารถติดต่อได้ทาง

FACEBOOK :  คุณหินขาว ขาวทั้งตัว

5 โรคร้าย

5 โรคร้าย

  1. ความดันโลหิตสูง ขณะที่เรามีชีวิตอยู่ หัวใจหดตัวเป็นจังหวะเพื่อให้โลหิตที่อยู่ในหัวใจและหลอดโลหิตไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย แรงดันที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจหดตัว จะเป็นแรงดันอีกอันหนึ่ง เป็นค่าสูง และเมื่อหัวใจคลายตัว จะได้แรงดันอีกอันหนึ่ง เป็นค่าต่ำ เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท เป็นต้น ในบางคนความดันโลหิตสูงกว่าปกติ เราเรียกว่า”ความดันโลหิตสูง” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย
  2. มะเร็งปากมดลูก แป็ปสเมียร์ ( Pap Smear) สามารถที่จะตรวจพบสิ่งผิดปกติบนปากมดลูกได้ ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่า เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนี้ ยังม่ใช่มะเร็งแต่อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ หากไม่ได้รับการรักษา  ถ้าเราตรวจแป็ปสเมียร์ ( Pap Smear) อย่างสม่ำเสมอ จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามได้
  3. โรคไข้เลือดออก ในระยะไข้สูงของโรคไข้เลือดออก การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมด ฤทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้ การเช็ดตัวลดไข้จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
  4. โรคเบาหวาน
    โรคเบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าคนปกติ ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นนี้เนื่องจากตับอ่อนส่วนเบต้าเซลล์มีความผิดปกติ ไม่สามารถผลิตหรือหลั่งฮอโมนอินซูลินออกมาให้พอเพียง
  5. โรคอุจจาระร่วงโรคอุจจาระร่วง หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลวมากกว่าวันล่ะ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูก หรืออาจปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรืออาจถ่ายอุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก ๆ แม้เพียงครั้งเดียวต่อวัน ในทารกที่กินนมแม่ ปกติถ่ายอุจจาระเป็นเนื้อเหลวบ่อยครั้งได้ ไม่ถือเป็นอาการท้องเดิน แต่ถ้าถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากและบ่อยครั้งกว่าที่เป็น ก็ถือว่าผิดปกติ


ที่มา
http://www.baanjomyut.com/library_2/fifth_disease/index.html

ไข้หวัดนก


       โรคไข้หวัดนกนับเป็นโรคติดต่อในกลุ่มโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่มีความสำคัญที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความหายนะแก่มนุษยชาติได้ หากมิได้มีการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคนี้อย่างจริงจัง เชื้อที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรคในปัจจุบันคือเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza Type A) สายพันธุ์ H5N1 โดยเริ่มมีการระบาดในสัตว์ปีกในประเทศฮ่องกง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปเอเชียอีกหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลี เวียดนาม ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น

ข้อมูลล่าสุดมีการรายงานการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกไปยังไซบีเรีย และอาจระบาดจากไซบีเรียไปยังหลายพื้นที่ในสหภาพยุโรปได้ นอกจากเชื้อนี้จะก่อให้เกิดโรคในสัตว์ปีกแล้วยังทำให้เกิดการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่น ๆ ได้อีก เช่น คน หมู แมวน้ำ เสือ เป็นต้น การติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในคนนั้น ได้มีรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ช่วงเวลาตั้งแต่ 26 ธันวาคม 2546 จนถึง 27 กรกฎาคม 2548 มีผู้ป่วยยืนยันเป็นโรคไข้หวัดนก (H5N1) รวมทั้งสิ้น 109 ราย เสียชีวิต 55 ราย เกิดขึ้นใน 4 ประเทศ คือ ประเทศเวียดนาม ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย

ในประเทศไทยในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดนกดังกล่าวเป็นต้นมา ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก จากการทำลายสัตว์ปีกในพื้นที่ตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกมากกว่า 60 ล้านตัว และค่าสูญเสียจากการไม่สามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งซึ่งคิดเป็นมูลค่า 60 – 80 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับรวมจำนวนเงินที่ต้องเสียเพื่อชดเชยให้เกษตรกรอีกจำนวนหนึ่งด้วย

         ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก และองค์กรด้านสุขภาพสัตว์นานาชาติมีความเห็นสอดคล้องกันว่าโรคไข้หวัดนกที่ระบาดอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ขณะนี้จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นโดยจะมีการระบาดออกไปอีกหลายระลอก หากไม่มีมาตรการควบคุมป้องกันที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และหากเชื้อไข้หวัดนกเกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ โดยเฉพาะการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนหรือมีการกลายพันธุ์จนสามารถติดต่อได้ง่ายก็จะมีโอกาสเกิดการระบาดจากคนสู่คน ซึ่งจะนำไปสู่การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ (Influenza Pandemic) ดังที่เคยมีประวัติการระบาดใหญ่ทั่วโลกมาแล้วหลายครั้ง เป็นระยะทุกรอบ 10 – 30 ปี ซึ่งทำให้ประชาชนต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก และสร้างความสูญเสียอย่างมหาศาล ดังเช่นการระบาดใหญ่ในปี พ.ศ. 2461 – 2462 มีผู้เสียชีวิตถึง 20 – 40 ล้านคน โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่แต่ละครั้งเชื่อว่าเป็นเชื้อที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ เช่น เชื้อไข้หวัดนก ทั้งนี้หากเกิดการระบาดใหญ่ในลักษณะเดียวกับการระบาดในปี พ.ศ. 2461 แล้ว อัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของประชาชนก็อาจสูงกว่าในอดีตอย่างเทียบกันไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะการเดินทางโดยเครื่องบินของผู้คน ทั้งภายในประเทศระหว่างประเทศ และระหว่างทวีปได้ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่มีโอกาสแพร่ระบาดไปทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว และจะเกิดผลกระทบรุนแรงทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยาและความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงได้แจ้งเตือนประเทศสมาชิกให้เร่งเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดใหญ่ โดยแนะนำให้ทุกประเทศจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่

        สำหรับประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก (พ.ศ.2548 – 2550) และแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ (พ.ศ. 2548 – 2550) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมกราคม 2548 แล้ว


ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/avian_influenza/index.html

โรคมือ เท้า ปาก


(Hand Foot and Mouth Disease)

สถานการณ์โรค 
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเขตร้อนชื้นพบโรคประปรายตลอดปี ไม่มีฤดูกาลที่ชัดเจน และมักเกิดบ่อยขึ้นในช่วงอากาศเย็น และชื้น ในเขตหนาวพบมากในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง ในประเทศไทยไม่พบลักษณะการระบาดตามฤดูกาลที่ชัดเจน แต่สังเกตว่าพบผู้ป่วยมากขึ้นตั้งแต่ต้นฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยเริ่มพบผู้ป่วยมากตั้งแต่เดือนมิถุนายนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนธันวาคม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง และแทบไม่มีผู้เสียชีวิตเลย

สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม– 17 มิถุนายนจาก 77 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มีรายงานพบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จํานวน 8,577 ราย อัตราป่วย 13.50 ต่อแสนประชากรยังไม่มีรายงานเสียชีวิต ส่วนใหญ่ พบในกลุ่มอายุต่ำกว่า 3 ปี จำนวนร้อยละ 81.89 และยังไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

สาเหตุ 
โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งซึ่งมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสที่สามารถเจริญเติบโตได้ในลำไส้ ที่เรียกว่า เอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีหลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ไวรัสคอคแซกกี เอ 16 ไวรัสคอคแซกกี เอ สายพันธุ์อื่น ๆ ไวรัสเอนเทอโร 71 และไวรัสเอคโค เป็นต้น โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก โดยจะมีอาการไข้ มีตุ่มหรือแผลแดงอักเสบที่บริเวณลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า ในเขตร้อนชื้นพบโรคประปรายตลอดปี ไม่มีฤดูกาลที่ชัดเจน และมักเกิดบ่อยขึ้นในช่วงอากาศเย็นและชื้น
อาการ 
หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการด้วยการมีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ต่อมามีอาการเจ็บปาก กลืนน้ำลายไม่ได้และไม่ยอมรับประทานอาหารและเบื่ออาหาร เนื่องจากมีจุดหรือตุ่มแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ต่อมาจะเกิดตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ (มักอยู่ที่ด้านข้างของนิ้ว) ฝ่าเท้า (มักอยู่ที่ส้นเท้า) และอาจพบที่บริเวณหัวเข่า ข้อศอก หรือก้นได้ ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส (maculo - papular vesicles) บริเวณรอบ ๆ อักเสบและแดง ในปากจะพบเป็นตุ่มแดงที่ลิ้นซึ่งต่อมาจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ (ulcer) อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้บ่อย เป็นโรคที่มีอาการไม่รุนแรง และแทบไม่มีผู้เสียชีวิตเลย พบผู้ป่วยน้อยรายที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่มีอาการรุนแรงเกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71
การติดต่อ 
ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือของเล่น ที่ปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือน้ำจากตุ่มพอง แผลในปาก หรืออุจจาระผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะผ่านเข้าไปที่เยื่อบุของคอหอย และลงไปที่ลำไส้ โดยเชื้อไวรัสจะขยายเพิ่มจำนวนที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอหอยรวมทั้งทอนซิล และเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ เชื้อไวรัสที่อยู่ในลำไส้จะถูกขับออกมากับอุจจาระ เชื้อไวรัสจะอยู่ในลำไส้และถูกขับถ่ายปนออกมากับอุจจาระเป็นระยะ ๆ ได้นานถึง 6 - 8 สัปดาห์ การติดต่อมักเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสออกมามาก จากการรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสติดมาจากมือหรือของเล่นที่ปนเปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือน้ำในตุ่มพอง หรือแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย การติดเชื้อจากอุจจาระ จะเกิดได้ถึงระยะที่ผู้ป่วยมีอาการทุเลาจนกระทั่งหายป่วยแล้ว ประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าระยะสัปดาห์แรก ๆ ส่วนการติดต่อทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดได้น้อย โรคนี้ไม่ติดต่อโดยการหายใจ โดยทั่วไปมักเริ่มพบอาการป่วยภายใน 3-6 วัน หลังได้รับเชื้อ

การรักษา 
โรคนี้ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายได้เอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะป่วยนานประมาณ 7-10 วัน เนื่องจากยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ จึงใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาทาแก้ปวดในรายที่มีแผลที่ลิ้นและกระพุ้งแก้ม ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรเช็ดตัวผู้ป่วยเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้เด็กรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำ น้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมาก ๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดนม เพื่อลดการปวดแผลในปาก ที่สำคัญคือการป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิต ตามปกติโรคนี้มักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอนเทอโรไวรัส 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งจะรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กและเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือผู้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน

การป้องกันควบคุมโรค 
การแยกเด็กป่วยหรือเด็กที่สงสัยว่าป่วยออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค รวมทั้งการส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง ได้แก่ การล้างมือ การไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน การป้องกันการไอ-จามรดกัน เป็นต้น เหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดให้มีมาตรการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และดำเนินการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในสถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ โดยร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคกรณีเกิดการระบาด เมื่อพบว่ามีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ดังต่อไปนี้
  1. เร่งรัดมาตรการสุขาภิบาลในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็กในทุกหมู่บ้าน โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถมทุกแห่ง ศูนย์การค้าที่มีเครื่องเล่น ต้องจัดให้มีการทำความสะอาดพื้น ของเล่นเด็ก ห้องสุขาและห้องน้ำ อุปกรณ์สำหรับการรับประทานอาหารและแก้วน้ำ โดยใช้หลักการและแนวทางตามประกาศของกรมอนามัย
  2. เผยแพร่คำแนะนำ เรื่องโรคมือ เท้า ปาก แก่ผู้ปกครองและเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ช่วยป้องกันการติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อม และควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ควรมีการใช้ช้อนกลาง เป็นต้น
  3. เฝ้าระวังตรวจเด็กทุกคน หากพบเด็กที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน 7-10 วันหรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่น ๆ
  4. นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการให้แนวทางในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดแก่บุคลากรสาธารณสุข รวมถึงให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก และการป้องกันแก่ประชาชนและกลุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/hand_foot_and_mouth_disease/index.html

สมองมหัศจรรย์


สมองเป็นส่วนของอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการกระทำของเราทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว ความรู้สึกนึกคิด หรือความจำ นอกจากนี้ยังมีการกระทำอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่สมองไม่ได้ควบคุมการกระทำนั้นโดยตรง แต่ควบคุมผ่านทางสารเคมีที่มีอยู่ในโลหิต ซีงจะส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

เรื่องของสมองได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเหตุเนื่องจาก อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein) ชีวิตในตอนเด็กของเขานั้น เขาถูกครูประจำชั้นกล่าวหาว่าเขาเป็นคนใจลอย เป็นเด็กไม่เอาไหน เป็นคนช่างถามจนชั้นเรียนเสียวินัยกันไปหมด แถมยังสำทับว่าเด็กอย่างเขานี่อย่าเรียนหนังสือเลยจะดีกว่า แต่แล้วทำไมสามารถเขากลับกลายเป็นนักกวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ระดับโลก ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพ และระเบิดปรมาณู ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจของคนทั่วโลก ทำให้เรื่องของสมองได้รับความสนใจค้นคว้ากันมากขึ้น จนในทศวรรษที่ผ่านมาถูกเรียกว่าเป็นทศวรรษแห่งการค้นคว้าเรื่องสมอง เพื่อหาความจริงและศักยภาพเร้นลับที่แฝงอยู่ในสมองออกมา

สมองของคนเราเป็นอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยเซลประสาทและเส้นประสาทจำนวนมากมาประกอบกันเป็นระบบประสาท โดยอยู่ภายในกระโหลกศีรษะ ห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มสมองและมีน้ำหล่อเลี้ยงสมอง หล่ออยู่ ของเหลวนี้บรรจุอยู่ในช่องว่างสี่ช่องภายในสมอง และจะถูกขับออกมาหล่อระหว่างชั้นของเยื่อหุ้มสมอง จากนั้นก็เข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง นอกจากนั้นยังมีแผ่นกระดูกอ่อนระหว่างข้อสันหลังแต่ละชิ้นช่วยลดแรงสั่นสะเทือนที่จะกระทบถึงสมองด้วย

ในระบบประสาท สิ่งที่สำคัญมากเท่า ๆ กับสมองก็คือ ไขสันหลัง (Spinal cord) ซึ่งเป็นส่วนที่ต่อออกจากสมอง ผ่านมาตามลำกระดูกสันหลัง ทั้งสมองและไขสันหลังนี้จะรวมกันเป็น ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system)

ตลอดระยะความยาวของไขสันหลัง จะมีเส้นใยประสาท (Nerves) แยกออกและแผ่ขยายออกไปครอบคลุมเกิอบจะทั่วทุกส่วนของร่างกาย เพื่อรับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากอวัยวะประสาทไปสู่สมอง และในขณะเดียวกันก็จะนำคำสั่งจากสมองไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย

สมองของมนุษย์หนักกว่าสมองของสัตว์อื่น ๆ นอกจากช้างและปลาวาฬ คิดเฉลี่ยในผู้ชายผู้ใหญ่ หนักประมาณ 1380 กรัม ในผู้หญิงหนัก 1250 กรัม น้ำหนักของสมองนี้ต้องแล้วแต่ความเจริญของสมอง สมองเจริญเร็วภายในอายุ 5 ปีและเจริญเรื่อยไป สมองจะหยุดเจริญเมื่ออายุ 20 ปี สมองจะมีน้ำหนักเพียง 2 % ของน้ำหนักร่างกาย แต่ต้องใช้พลังงานถึง 20 % ของพลังงานที่ร่างกายผลิตได้ในการทำงานของสมอง โดยพลังงานส่วนนี้ได้จากกลูโคสและออกซิเจนซึ่งนำมาทางกระแสโลหิต

สมองของมนุษย์เป็นมรดกแห่งวิวัฒนาการหลาย ๆ ล้านปี สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับใหญ่ ๆตามการทำงานของสมองได้ดังนี้ คือ (อริยะ สุพรรณเภษัช :2543) 
สมองส่วนแกนกลางหรือสมองดึกดำบรรพ์หรือสมองส่วนสัตว์เลื้อยคลาน 
เช่นเดียวกับสัตว์มีกระดูกสันหลังขั้นต้นทั้งหลาย ทำหน้าที่เป็นกลไกรับความรู้สึกต่าง ๆ ,ตัดสินใจในสถานการณ์ว่าสู้หรือถอย และควบคุมการอยู่รอดของชีวิต เช่น การหายใจ การไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติ สมองระดับนี้มีในปลา และสัตว์เลื้อยคลาน ส่วนนี้ของสมองได้แก่ก้านสมองและไขสันหลัง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ 300 ล้านปีที่แล้ว ความอยู่รอดระดับนี้ไม่ต้องอาศัย “ ความคิด” เพียงแต่เป็นปฏิบัติการของก้านสมองและไขสันหลังที่เรียกว่า ปฏิกิริยา Reflexซึ่งระบบของกลไกรับความรู้สึกต่าง ๆ ของสมองส่วนนี้สามารถได้รับการพัฒนาขึ้นได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ซึ่งเมื่อย่างเข้าอายุปีที่ 4 สมองส่วนนี้จะพัฒนาได้มากถึง 80 % และจะหยุดการพัฒนาไปเมื่ออายุได้ประมาณ 7 ปี ซึ่งสมองในระดับที่สูงขึ้นไปมากกว่านั้นจะเริ่มต้นพัฒนาในขั้นปฐมภูมิ

เพราะฉะนั้นควรให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูเด็กอย่างเอาใจใส่ ความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ก็จะเปิดเผยออกมา กลไกรับความรู้สึกต่าง ๆ ก็ได้รับการพัฒนาได้เต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการควบคุมจิตใต้สำนึกให้เป็นปกติ,การสร้างประสบการณ์ของการพัฒนาประสาทสัมผัสของประสาทรับรู้ของเด็ก, ซึ่งจะทำให้ระบบโครงสร้างของสมองส่วนนี้มีการพัฒนาอย่างเพียงพอ เพื่อจะเป็นพลังช่วยผลักดันให้การพัฒนาของสติปัญญาในสมองระดับที่สูงกว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ในปัจจุบันพบว่าสังคมเกิดปัญหาการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างมากมายในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นเพราะว่าสมองส่วนนี้ของผู้คนสังคมถูกกระตุ้นด้วยสื่อต่าง ๆ ผลิตออกมามอมเมาอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมรุนแรง ขึ้นมาได้ เช่น สื่อลามกต่าง ๆ ,ภาพยนต์หรือเกมคอมพิวเตอร์ที่สื่อความรุนแรงซาดิสม์,เวปไซต์โป๊ เพลงที่เร่าร้อนกระตุ้นกามและความรุนแรง เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันจะไปกระตุ้นสมองสัตว์เลื้อยคลานของผู้เสพสื่อต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้สมองส่วนสัตว์เลื้อยคลานของเขาให้มีศักยภาพสูงขึ้น ทำให้มันมีพลังรุนแรง มีผลทำให้ส่งสัญญาณให้สมองส่วนอารมณ์ แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา นอกกรอบแห่งสังคมและวัฒนธรรมโดยที่สมองส่วนปัญญาภายใต้สมองส่วนอารยะไม่มีพลังเพียงพอที่จะไปควบคุมมันได้ ดังนั้นการที่จะเสพสื่อต่าง ๆ จงพิจารณาให้เหมาะสม

สมองระดับกลางหรือสมองส่วนอารมณ์ 
มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงเท่านั้น เรียกว่าระบบลิมบิค(Limbic system) เป็นส่วนที่แสดงอารมณ์ เช่น ความรักผูกพัน ความชิงชัง ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ฯลฯ มนุษย์มีอารมณ์ก็เพราะมีสมองระดับนี้ นอกจากนั้นยังมีส่วนที่ก่อให้เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว (STM และ LTM ) ซึ่งมีความสำคัญต่อการอยู่รอดเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อีกด้วย สมองส่วนนี้พัฒนาเมื่อประมาณ 100 ล้านปีที่แล้ว เมื่อสิ้นสุดยุคไดโนเสาร์ สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจึงค่อยแพร่หลายและมีวิวัฒนาการสืบต่อมา

ซึ่งสมองส่วนนี้สามารถได้รับการพัฒนาได้จากการเล่น,การที่มีรูปแบบตัวอย่างหรือโมเดลที่เหมาะสมเป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดการลอกเลียนเอาแบบอย่าง การรับฟังจากการเล่าเรื่องและมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านอารมณ์ที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะผ่านไปสู่ระดับของสติปัญญาที่สูงกว่าของตัวเขา

สมองส่วนอารมณ์นี้จะเป็นสมองส่วนที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ออกมาทั้งทางกาย,วาจาและใจ รวมทั้งภาษากายต่าง ๆ การแสดงออกของพฤติกรรมอย่างไรขึ้นอยู่กับว่า สมองส่วนปัญญา หรือ สมองส่วนสัตว์เลื้อยคลานมีอิทธิพลมากกว่ากัน ถ้าสมองส่วนปัญญามีอิทธิพลมากกว่า ก็จะสามารถควบคุมทำให้การแสดงออกของพฤติกรรมและอารมณ์ เป็นไปตามกรอบของสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนด แต่ถ้าสมองส่วนสัตว์เลื้อยคลานมีอิทธิพลมากกว่าเนื่องจากถูกกระตุ้นโดยการเสพสื่อที่มอมเมา ฯ ก็จะทำให้การแสดงออกของพฤติกรรมและอารมณ์ของเขาไม่เป็นไปตามกรอบที่สังคมและวัฒนธรรมกำหนด อยู่ในสภาวะผู้มีอีคิวต่ำ

สมองส่วนนีโอ-คอร์เท็กซ์หรือสมองระดับอารยะหรือสมองส่วนปัญญา 
เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย ส่วนนี้มีไว้รับสัมผัสทั้งห้า (หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง) ควบคุมการเคลื่อนไหวและความรู้สึกนึกคิดและการเรียนรู้ทั้งสิ้น เปลือกสมองของมนุษย์ทั้งหนาทั้งมีรอยพับจีบย่นลึก ๆ เพิ่มพูนปริมาณและพื้นที่ เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของเดนไดร์ท(Dendrittic spine) ทำให้เกิดความเชื่อมต่อของทางเดินกระแสประสาทในสมองที่เรียกว่า เบรนคอนเนคชั่น( Brain connection) มีผลทำให้เกิด ไซแนปส์(synapse)ได้เพิ่มขึ้น จึงมีขีดความสามารถสูงยิ่งกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใด ๆ ด้วยสมองระดับนี้จึงช่วยให้มนุษย์มี “อารยธรรม” สมองระดับนี้มีวิวัฒนาการเมื่อไม่ถึงห้าแสนปีนี่เอง มนุษย์นั้นอยู่รอดด้วยการเรียนรู้ซึ่งต่างจากสัตว์ซึ่งอยู่รอดได้ด้วยปฏิกิริยา Reflex และ สัญชาติญาณ(Instinct)

ซึ่งสมองส่วนนี้จะเป็นตัวกำหนดระดับสติปัญญาของมนุษย์โดยที่สมองส่วนนี้จะคอยเลือกเฟ้นข่าวสารหรือข้อมูลที่ได้รับผ่านเข้ามาจากประสาทส่วนอื่น ๆ และผลลัพท์ที่ได้จะเป็นผลลัพท์ที่เต็มไปด้วยเหตุผล การตัดสินใจ ความคิดที่ใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง ภาษาที่ใช้ ปฏิกิริยาการควบคุม และความเข้าใจที่แสดงออกทางท่าทาง

สมองส่วนนี้ถ้าได้ส่งเสริมให้มีศักยภาพสูง โดยการได้เสพสื่อในสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตน เช่น ได้อ่านหนังสือที่ดี,ฟังดนตรีที่พัฒนาศักยภาพสมอง, ได้เข้าถึงข้อมูลที่ดีทางศาสนา,ได้รับความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยามารยาทที่เหมาะสม ฯ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นสมองส่วนปัญญาและยับยั้งการครอบงำของสมองส่วนสัตว์เลื้อยคลาน มีผลทำให้สมองส่วนอารมณ์ได้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่ดีที่เหมาะสมตามสมองส่วนปัญญาไปด้วย

เราจึงเรียกสมองส่วนนี้เป็นสติปัญญาในระดับสูงที่เรียกว่าว่า “วิถีแห่งการรับรู้” ซึ่งพัฒนาขึ้นภายในตัวมนุษย์ซึ่งวิถีแห่งการรับรู้พิจารณาได้จาก ความเฉลียวฉลาดในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ตามทฤษฎีพหุปัญญา ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ซึ่งประกอบด้วย
  • ความเฉลียวฉลาดทางด้านภาษา ( linguistic intelligence) คือ ความสามารถในด้านภาษา การพูดจาโน้มน้าวผู้อื่น เช่น นักการเมือง ความสามารถในด้านบทกวี ตัวอย่างบุคคลเช่น เช็คสเปียร์
     
  • ความเฉลียวฉลาดด้านการคำนวณ (Logic/MathematicsIntelligence) คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล การคำนวณ ตัวอย่างบุคคล เช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน
     
  • ความเฉลียวฉลาดในด้านมิติ (Visual/Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ประโยชน์จากบริเวณว่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น จิตกรวาดภาพ,นักเดินหมากรุก ,ความสามารถในการใช้แผนที่เช่น นักเดินเรือ ,ความสามารถในการสร้างจินตนาการ สร้างภาพต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ดั่งเช่น สถาปนิกที่สร้างตึกหรือเมืองขึ้นได้จากจินตนาการ ตัวอย่างบุคคลเช่น ลีโอนาร์โด ดาวินชี
     
  • ความเฉลียวฉลาดในด้านดนตรี ( Musical Intelligence) คือ ความสามารถในด้านดนตรี ตัวอย่างบุคคล เช่น โมสาร์ต
     
  • ความเฉลียวฉลาดในด้านกายภาพหรือร่างกาย(Bodily Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้สรีระร่างกาย เช่น นักเต้นรำ นักบัลเล่ต์ ตัวอย่างบุคคลเช่น ไมเคิล แจ๊กสัน ที่มีท่าเต้นไม่เหมือนใครและหาคนเลียนแบบได้ยาก
     
  • ความเฉลียวฉลาดในด้านสังคม( Interpersonal /Social Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าสังคม การเป็นมิตรกับคนอื่นได้ง่าย ตัวอย่างบุคคลเช่น วินสตัน เชอร์ชิลล์ หรือผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ความเฉลียวฉลาดในด้านธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) คือ คนที่มีความสามารถในการมองเห็นความงาม
     
  • ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติ เช่น ชาร์ลส์ ดาวิน
     
  • ความเฉลียวฉลาดในด้านจิตวิญญาณ ( Spiritual Intelligence) คือ คนที่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณด้านลึก ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยภาษาง่าย ๆ ตัวอย่างบุคคลเช่น มหาตมะ คานธี เป็นต้น
     
  • ความเฉลียวฉลาดในด้านบุคคล ( Intrapersonal Intelligence) คือ คนที่มีความสามารถในการเข้าใจตนเองดี มีความมั่นใจในตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง สามารถตั้งเป้าหมายชีวิตได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างบุคคลเช่น กฤษณะมูรติ เป็นต้น
หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของสมอง
อริยะ สุพรรณเภษัช(2543) ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของสมอง ไว้ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


สมองส่วนหน้า (Forebrain) 
สมองใหญ่ (Cerebrum) 
เป็นสมองส่วนที่กินเนื้อที่ในกระโหลกศีรษะมากที่สุด ประมาณ 70 % ของสมองทั้งหมด เป็นสมองส่วนที่มีอายุน้อยที่สุด คือ เป็นสมองที่เพิ่งจะผ่านขั้นตอนการวิวัฒนาการมาเมื่อไม่นานมานี้เอง สมองส่วนนี้ทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับความรู้ ความคิด ความจำ เป็นศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับการพูดและการรับรู้ภาษา เป็นศูนย์ควบคุมสัมผัสทั้ง 5 เป็นศูนย์ควบคุมกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้อำนาจของจิตใจ

สมองใหญ่ ประกอบด้วยสมองรูปครึ่งวงกลมแยกเป็นสองส่วน เรียกว่า เฮมิสเฟีย(Hemispheres) ซึ่งจะเชื่อมต่อกันที่รอยผ่าลึกด้านล่างด้วยเนื่อเยื่อแถบยาวที่เรียกว่า คอร์พัสคัลโลซัม (Corpus callosum) ภายในเฮมิสเฟียซึ่งประกอบกันเป็นสมองใหญ่นี้ จะมีชั้นของเนื้อเยื่ออยู่ 2 ชั้น ชั้นบาง ๆ ที่อยู่ภายนอกเรียกว่า พื้นผิวสมอง (Cortex) หรือเนื้อเยื่อสีเทา (grey matter) ซึ่งเป็นชั้นที่ห่อหุ้มสมองใหญ่ไว้ทั้งหมด ส่วนนี้จะอุดมไปด้วยปลายประสาท และส่วนที่อยู่ลึกลงไปจะมีเนื้อสมองสีขาว(white matter) บริเวณส่วนผิวของซีรีบรัม เรียกว่า ซีรีบรัมคอร์เท๊กซ์ (cerebrum cortex) มีความหนาประมาณ 4 มิลลิเมตร อยู่ในส่วนของเนื้อสมองสีเทา รอยหยักของผิวสมองก็เกิดที่ซีรีบรัมคอร์เท๊กซ์นี่เอง ซีรีบรัมคอร์เท๊กซ์ของมนุษย์มีความซับซ้อนมาก และหน้าที่ต่าง ๆ ของซีรีบรัมที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็เกิดขึ้นที่ซีรีบรัมคอร์เท๊กซ์นี่เอง ซึ่งพื้นผิวสมองมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมเคลื่อนไหวของร่างกายโดยควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายที่อยู่ในอำนาจการควบคุมของจิตใจและยังควบคุมเกี่ยวกับประสาทสัมผัสอีกด้วย

สมองส่วนนี้แบ่งออกได้เป็นส่วนย่อยที่เรียกว่าพูสมอง (lobe) 4 ส่วนหรือ 4 พู ได้แก่
  1. พูสมองส่วนหน้า ฟรอนทัลโลบ(Frontal lobe) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคัดเลือกสิ่งเร้า สมาธิ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจำ ความฉลาด ความคิดอย่างมีเหตุผล คำพูดและการวางแผน ตลอดจนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ แขนขาและใบหน้าด้วย
     
  2. พูสมองส่วนพาไรทัลโลบ(Parietal lobe) ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสจากร่างกาย (Sensual) การคิดในระดับสูง ได้แก่ การประมวลผลข้อมูลทางสายตา ทางความรู้สึกสัมผัส ทักษะด้านคณิตศาสตร์ ภาษา และ ดนตรี ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ ความเข้าใจ และจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบสามมิติเกิดจากสมองส่วนนี้
     
  3. พูสมองส่วนเท็มพอรัลโลบ (Temporal lobe) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินเสียง ( Auditory),การดมกลิ่น (Olfaction),ความจำและภาษา
     
  4. พูสมองส่วนออกซิพิตัลโลบ (Occipital lobe) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น
     
  5. พูสมองส่วนลิมบิคโลบ (Limbic lobe) เป็นส่วนของซีรีบรัมเก่าแก่ดั้งเดิมที่ถูกดันเข้าไป (บางครั้งนำพูสมองส่วนนี้ไปรวมกับสมองส่วนกลางและบางส่วนของก้านสมอง โดยเรียกรวมว่าเป็นระบบลิมบิก (limbic system)) ทำหน้าที่สำคัญร่วมกับสมองส่วนอื่น ๆ โดยทำหน้าที่เกี่ยวข้องความทรงจำ(Memory) การเรียนรู้ อารมณ์และการแสดงอารมณ์ได้ถูกต้องตามประสบการณ์ ตามวัฒนธรรมตลอดจนสัญชาตญาณการอยู่รอดหรือการเห็นแก่ตัวเอง (ego)
ไดเอนเซฟาลอน (Diencephalon) มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
  1. ทาลามัส (Thalamus) อยู่ใต้ซีรีบรัมและอยู่เหนือไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่ เหมือนศูนย์ถ่ายทอดสัญญาณของร่างกายระหว่างไขสันหลังและซีรีบรัม โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าแล้วถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น ๆ โดยแปลสัญญาณที่รับเข้ามาก่อนส่งไปยังซีรีบรัม เช่น รับกระแสประสาทจากหูแล้วส่งเข้าซีรีบรัมบริเวณศูนย์การรับเสียง
     
  2. ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) อยู่ถัดจากทาลามัสลงไปทางด้านล่างของสมอง ทำหน้าที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ และต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ในการตอบสนองด้านอารมณ์และสัณชาติญาณโดยทำหน้าที่โดยสร้างฮอร์โมนหลายชนิดส่งไปควบคุมต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ปลายสุดของสมองส่วนนี้อีกต่อหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด การนอนหลับ ความหิว ความอิ่ม ความกระหาย รวมทั้งเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โศกเศร้า และความรู้สึกทางเพศ
     
  3. อีพิทาลามัส(Epithalamus) หรือ ไพเนียลบอดี้ (Pineal body) เป็นกลุ่มเซลมีลักษณะคล้ายเซลรับแสง หน้าที่ยังไม่แจ้งชัด
สมองส่วนกลาง (Midbrain) 
เป็นสมองส่วนที่อยุ่ระหว่าง พอนส์ กับ ไดเอนเซพารอน มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการโฟกัสภาพของตาให้ชัดเจนเวลาดูของใกล้หรือไกล,ทำให้ลูกตากรอกไปมาได้,การที่ทำให้ม่านตาปิดเปิดในเวลามีแสงสว่างเข้ามามากหรือน้อย

สมองส่วนท้าย (Hindbrain) แบ่งเป็น
  1. ซีรีเบลลัม(Cerebellum) สมองส่วนท้ายทอยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ต่อเนื่อง เที่ยงตรงราบรื่น จนกระทั่งสามารถทำงานชนิดละเอียดอ่อนได้ และทำให้ร่างกายสามารถทรงตัวได้ โดยรับความรู้สึกจากหูที่เกี่ยวกับการทรงตัวแล้วซีรีเบลลัมแปลเป็นคำสั่งส่งไปยังกล้ามเนื้อ
     
  2. พอนส์(Pons) อยู่คนละด้านของซีรีบรัมติดต่อกับสมองส่วนกลางเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างซีรีบรัมกับซีรีเบลลัม และระหว่างซีรีเบลลัมกับไขสันหลัง พอนส์ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และควบคุมการหายใจ
     
  3. เมดุลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata) เป็นส่วนสุดท้ายของสมอง ตอนปลายสุดของสมองส่วนนี้อยู่ติดกับไขสันหลัง จึงเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เมดุลลาออบลองกาตานี้เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติต่าง ๆ เช่น การหมุนเวียนเลือด ความดันเลือด การเต้นของหัวใจ ศูนย์ควบคุมการหายใจ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ควบคุมการกลืน การไอ การจาม และอาเจียน
ก้านสมอง (Brain stem) เป็นส่วนท้ายสุดของสมอง เป็นสมองส่วนที่ต่อเชื่อมกับ

กระดูกสันหลัง ประกอบด้วยสมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดุลลา ออบลองกาตา ภายในก้านสมองพบกลุ่มเซลประสาทและใยประสาทเชื่อมระหว่างเมดุลลาออบลองกาตากับทาลามัส เป็นสมองส่วนที่เก่าแก่ที่สุด เพราะพบว่าเป็นสมองส่วนสำคัญของสัตว์โบราณหลายชนิด ก้านสมองทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมการทำงานงานของร่างกาย และเป็นระบบที่ช่วยค้ำจุนชีวิตของเราด้วย แม้ว่าสมองส่วนอื่น ๆ จะถูกทำลายหมดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าก้านสมองไม่ได้ถูกทำลายด้วยแล้ว ร่ายกายก็อาจจะมีชีวิตอยู่ได้อีกชั่วขณะหนึ่ง

การทำงานของก้านสมองเป็นการทำงานในระดับจิตไร้สำนึก(unconscious)เป็นฟังค์ชั่นการทำงานที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงคลอด เป็นความสามารถที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเพื่อการอยู่รอดในโลกธรรมชาติเช่นเดียวกับสัตว์อื่น หรืออาจเรียกว่าเป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตก็ได้ ความสามารถของเด็กทารกที่เพิ่งเกิดใหม่ ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการทำงานของก้านสมองทั้งสิ้น(ชิชิโร อิเกะซะวะ,2542)

ก้านสมองทำงานร่วมกับไขสันหลัง เพื่อควบคุมการทำงานของร่างกาย และควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติต่าง ๆ เป็นศูนย์การควบคุมการนอนหลับ การรู้สึกตื่นตัวหรือความมีสติ ศูนย์ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ควบคุมอุณหภูมิและการหลั่งน้ำย่อย การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า การกลืน การไอ การจาม การสะอึก และอาเจียน

หน้าที่สำคัญที่สุดของก้านสมอง คือ การควบคุมความรู้สึกนึกคิดของเรา โดยก้านสมองจะตัดหน้าที่การทำงานของสมองในขณะที่เราหลับ และจะจ่ายหน้าที่การทำงานให้กับสมองใหม่เมื่อเราตื่น แม้แต่ในขณะที่เรากำลังหลับ ก้านสมองก็ยังคอยควบคุมและตรวจสอบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างถูกต้องเรียบร้อย

การทำงานของก้านสมองคล้ายกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ จะมีหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบข้อมูลทั้งหลายที่ผ่านเข้ามาสู่สมองทางระบบประสาท จากนั้นก็จะดำเนินการกับข้อมูล รวมถึงการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นกลับไปที่ระบบประสาท เพื่อการควบคุมร่างกายทั้งหมด ก้านสมองจะทำงานโดยที่เราไม่รู้สึกตัว แม้ว่าเราอาจจะสังเกตผลจากการทำงานนั้นอยู่บ้างก็ตาม ทำนองเดียวกับการที่เราไม่ค่อยรู้สึกว่าเรากำลังหายใจนั่นเอง

เรติคูลาร์ ฟอร์เมชั่น (Reticular formation) เป็นกลุ่มเซลภายในก้านสมองที่ทอด ตัวอยู่ในแกนกลางของก้านสมองส่วนสีเทา ตั้งแต่ไขสันหลัง เมดัลลาออบลองกาตา และพอนส์ สมองส่วนกลาง จนถึงทาลามัส สามารถรับข้อมูลและผสมผสานข้อมูลจากทุกส่วนของระบบประสาทกลางได้พร้อมกันเกือบทุกเซลล์

สำหรับการควบคุมอวัยวะภายใน ระบบประสาทที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราเรียกว่าระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การหายใจ อวัยวะสืบพันธ์ และการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังควบคุมต่อมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายด้วย ระบบประสาทอัตโนมัติจะเป็นการทำงานโดยอิสระของสมอง โดยลำตัวเซลล์ประสาทจะจับกลุ่มกันในปมประสาทใกล้กระดูกสันหลัง และจะทำงานเฉพาะที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับเท่านั้น ถึงแม้ว่าก้านสมองจะเป็นส่วนสำคัญของระบบประสาทอัตโนมัตินี้ แต่เราจะไม่รู้สึกถึงการทำงานของมันเลย

ระบบดังกล่าวนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic nervous system)และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(Parasympathetic nervous system) ซึ่งทั้งสองส่วนจะทำงานตรงข้ามกันเสมอ โดยระบบประสาทซิมพาเทติก(Sympathetic nervous system)จะทำหน้าที่กระตุ้นอวัยวะทำงานมากขึ้น แต่อีกระบบหนึ่งระบบประสาทพาราซิมพาเทติก(Parasympathetic nervous system)คือจะกระตุ้นให้อวัยวะหยุดทำงาน เช่น เวลาโกรธหรือเครียดระบบประสาทซิมพาเทติกก็จะกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลินออกมา ทำให้หัวใจเต้นแรง ความดันเลือดสูง พอหายโกรธหรือเครียด ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ก็จะกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตหยุดหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งจะทำให้สภาพการเต้นของหัวใจและความดันเลือดกลับสู่สภาพปกติ เป็นต้น ระบบทั้งสองผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเช่นนี้ จึงจะทำให้อวัยวะทำงานได้อย่างสมดุล


ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library_2/brain_magic/index.html

สมุนไพร

สมุนไพร(Medical Plant หรือ Herb) หมายถึงสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพ อันหมายถึงการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค

"สมุนไพร" นับว่าเป็นยาที่ สำหรับรักษาโรคต่างๆ ได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง"พืชสมุนไพร" ทั้งหลาย " พืชสมุนไพร " ที่นำเอามาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคของคนเรานั้น ได้รับการ อนุญาตให้ใช้รักษาความเจ็บไข้ได้ป่วย ของมนุษย์เราได้ โดยมีพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2522 ดังนี้

" สมุนไพร " หมายถึงยา ที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือทำการแปรสภาพเป็นต้นว่า ส่วนของรากหัว เปลือก ใบ ดอก เมล็ด ผล

"สมุนไพร" สมุนไพรที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนังกระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มีเช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ สมุนไพรที่เป็นแร่ธาตุเช่น เกลือ เกลือสินเธาว์ เป็นต้น

"พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมาย ซึ่งเชื่อกันอีกด้วยว่าต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

"พืชสมุนไพร" อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผง เป็นต้น

"พืชสมุนไพร" มีวัตถุธาตุ หรือตัวยาสมุนไพร แบ่งออกเป็น 5 ประการ

  1. รูป ให้รู้ว่าพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมีชื่ออะไรบ้าง ชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญ
  2. สี ให้รู้จักสีของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ว่าเป็นสีดำ ขาว น้ำตาล หรือสีอื่นๆ
  3. กลิ่น ให้รู้ว่ามีกลิ่นหอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
  4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสเปรี้ยว รสเย็น
  5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร,ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร ดอกมะขามเป็นอย่างไร ผลมะเกลือเป็นอย่างไร
สมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐานส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร โดยนำองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนของพืชมาใช้ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ส่วนของพืชเหล่านี้มีรูปร่างลักษณะและโครงสร้าง และบทบาทต่อพืชที่แตกต่างกัน
สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย


ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library/health.html

สารเคมีในสมอง


  1. กลุ่มกระตุ้นสมอง ได้แก่ Serotonin Endorphine Acetylcholine Dopamine ฯลฯ
  2. กลุ่มกดการทำงานของสมอง เช่น Adrenaline cortisol
กลุ่มแรกจะทำหน้าที่
  • ควบคุมความประพฤติ การแสดงออก อารมณ์
  • ทำให้สมองตื่นตัว และมีความสุข
  • ทำให้การอ่านข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
  • ทำให้ร่างกายรู้สึกดี มีความสุข
  • ทำให้เพิ่มภูมิต้านทาน สุขภาพแข็งแรง
จะหลั่งมากเมื่อ
  1. การออกกำลังกาย
  2. การได้รับคำชมเชย
  3. การร้องเพลง
  4. การเล่นเป็นกลุ่ม
  5. สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนที่ดี
  6. การให้ทำกิจกรรมกลุ่ม
  7. การได้รับสัมผัสที่อบอุ่น (affirmation touch)
  8. การมองเห็นคุณค่าของตนเอง
  9. การเล่นดนตรี และเรียนศิลปะโดยไม่ถูกบังคับ
  10. การได้รับสิ่งที่ชอบ
  11. ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ยกตัวอย่างกลุ่มแรก
  • Dopamine : ควบคุมการเคลื่อนไหว ถ้าต่ำมีผลต่อความจำที่ใช้กับการทำงาน ถ้าสูงมากเกินไป เกิดโรคจิตประสาทหลอน และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ชายจะลดลงมากกว่าผู้หญิง
  • Serotonin : ทำให้รู้สึกอารมณ์ดี ทำหน้าที่ส่งข้อมูล เกือบทุกข่าวสารผ่านที่ต่างๆ ในสมอง ถ้าขาดจะทำให้คนซึมเศร้า มองคุณค่าตัวเองต่ำ
  • Acetylcholine : ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทำให้ข้อมูลส่งผ่านได้ดีขึ้น มีบทบาทสำคัญในความจำระยะยาว ช่วยให้สมองเก็บความรู้ที่เราเรียนในเวลากลางวันไปเก็บในสมองในเวลาที่เรากำลังหลับ เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความฝัน ถ้าขาดสารนี้ทำให้สมาธิลดลง ขี้ลืม นอนไม่ค่อยหลับ
  • Endorphine (Endogenous morphine) : เป็นยาชาในร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้รู้สึกเจ็บน้อยลง เช่น ผู้หญิงขณะคลอดจะผลิตสารนี้ 10 เท่า เป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดความสุข อารมณ์ดี และสมองจะเจริญเติบโต และเรียนรู้ได้ดี ถ้าขาดสารนี้จะทำให้เราขาดความสุข แม้จะฟังเพลงที่เคยชอบ ถ้ามีสารนี้มากจะมีอารมณ์ดีเป็นพิเศษ และสนุกสนาน
การออกกำลังกายและทำกิจกรรมอื่นๆ หรือการวิ่ง จะทำให้สารนี้หลั่ง หรือการให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้สารเคมีนี้หลั่งเช่นกัน สังเกตได้ว่า ถ้าเราออกกำลังกายหรือได้ช่วยเหลือผู้อื่น จะทำให้รู้สึกดี สมองปลอดโปร่อง มีความสุข แต่ไม่ใช่ออกกำลังกายที่ถูกบังคับ หรือเคี่ยวเข็ญ ซึ่งจะเกิดความทุกข์แทน

การหลั่งของ Serotonin Dopamine Endorphine ทำให้เขาสามารถเรียนรู้ และจำได้ดีขึ้น และสมองจะเจริญเติบโตดี เกิดจากการออกกำลังกาย การสัมผัสที่อบอุ่นการยิ้มแย้มแจ่มใส และการมีความสัมพันธ์ที่ดี การมองตนในแง่ดี การชมเชย การภูมิใจตนเองทำให้ร่างกายรู้สึกดี และมีภูมิต้านทานสูงขึ้น เพราะฉะนั้น ครู และพ่อแม่ อาจจะต้องหาช่องทางที่จะชมเชยเด็กอยู่เสมอ และให้มีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวในขณะที่เรียนบ้าง ไม่ดุเด็กมากมายจนขาดเหตุผล แต่พยายามกระตุ้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน จะทำให้เด็กมีความสุข สามารถเรียนรู้ และจำได้ดีขึ้น เด็กอยาก จะเรียนวิชานั้นมากขึ้น คุณครูทดลองทำดูได้ค่ะ



เราสามารถสร้างภาวะเหล่านี้ในห้องเรียน เช่น ยืนขึ้น ยืดเส้นยืดสาย การเล่นกล เล่นตลก กายบริหารสักเล็กน้อย บิดตัวไปมา ทั้งหลายเหล่านี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย เพิ่มการเต้นของหัวใจและการหายใจ หรืออาจจะใช้ลูบหัว จับมือ โอบไหล่ (ครูเพศตรงข้ามห้ามทำ) ตบหลังเบาๆ ให้กำลังใจ การจับกลุ่มกันทำงาน ทำให้เด็กรู้สึกว่ามีส่วนร่วม การดูแลจากครูดี รู้สึกมั่นคงทำให้หลั่งสาร Endorphine (Jensen 1998) รวมทั้งการร้องเพลง ดนตรี โดยเฉพาะกลุ่มดนตรีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ ที่อิสระไม่ไดถูกบังคับ ก็จะทำให้สารเคมีที่ดีเหล่านี้หลั่ง ซึ่งจะมีผลทำให้สมองปลอดโปร่ง มีความสุข สุขภาพดี และความจำดี

กลุ่มที่ 2 เป็นสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเครียด จะหลั่งเมื่อสมองได้รับความกดดัน ความเครียดอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้
  • ยับยั้งการส่งข้อมูลของแต่ละเซลล์สมอง
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของสมองและใยประสาท
  • คิดอะไรไม่ออก ยับยั้งเส้นทางความจำทุกๆ ส่วน
  • ภูมิต้านทานต่ำ เป็นภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย
  • ทำลายเซลล์สมอง และใยประสาท (Khalsa 1997)
Cortisol สูงทำให้
  • เด็ก Hyperactive
  • กังวล
  • สมาธิสั้น ควบคุมไม่ได้
  • ความสามารถในการเรียนลดลง
Cortisol คล้าย Adrenaline ถ้ามีมากจะมีพิษต่อสมอง เป็นสารที่เกี่ยวกับการตกใจและการต่อสู้ การตอบสนองต่อความเครียด ถ้ามีมากเกินไปจะมีอันตราย ต่อทั้งอารมณ์และร่างกาย สารนี้จะหลั่งเมื่อมีความรู้สึกไม่ดี ความเครียด (เรื้อรัง) มีความทุกข์ การมองเห็นคุณค่าตัวเองต่ำ โดนดุด่าทุกวัน ซึมเศร้า โกรธ เข้มงวดเกินไป วิตกกังวล ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายองค์ประกอบภายในสมอง ไม่ว่าใยประสาทต่างๆ หรือแม้แต่เซลล์สมอง รวมทั้งจะหยุดยั้งการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมอง ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่คุณครู หรือ พ่อ แม่ ผู้ใกล้ชิดต้องระวัง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ในขณะสอน หรืออยู่กับเด็ก

ภาวะ Cortisol สูงจะทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เช่น เป็นโรคกระเพาะ ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เป็นโรคภูมิแพ้ มะเร็งได้ง่าย ซึ่งเคยมีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น ครูที่ดุ หรือเคร่งครัดมากๆ หรือคนที่ทำงานเครียดมากๆ นานๆ เกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคหัวใจ ฯลฯ ท่านลองสังเกตบุคคลรอบๆ ตัวดูได้ค่ะ.


ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library/chemicals_in_the_brain/index.html